สภาพทั่วไปสภาพทั่วไปและข้อมูลพื้นฐาน
*****************
1.ด้านกายภาพ
๑.๑ ที่ตั้งของหมู่บ้านหรือชุมชนหรือตำบล
เดิมตำบลกองโพน ได้แยกจากตำบลพะลาน อำเภอเขมราฐ ตามประกาศกระทรวงมหาดไทยในการจัดตั้งเป็นตำบลกองโพน เมื่อ 31 สิงหาคม 2519 ( ราชกิจจานุเบกษา เล่ม 93 ตอนที่ 143 น.3338 ลงวันที่ 16 พฤศจิกายน 2519 ) และได้จัดตั้งจากสภาตำบลเป็นองค์การบริหารส่วนตำบล ตามประกาศ กระทรวงมหาดไทย (ราชจิกจานุเบกษา ฉบับประกาศทั่วไป เล่ม 113 ตอนพิเศษ 52 ง ลงวันที่ 25 ธันวาคม 2539) โดยให้มีผลบังคับใช้ในวันที่ 16 ธันวาคม 2539 โดยเป็น" องค์การบริหารส่วนตำบล ขนาดเล็ก ชั้น 5 " ปัจจุบันองค์การบริหารส่วนตำบลกองโพน อำเภอนาตาล จังหวัดอุบลราชธานี ได้เป็น "องค์การบริหารส่วนตำบลขนาดกลาง" โดยให้มีผลตั้งแต่วันที่ 27 พฤษภาคม 2551 ตามมติคณะกรรมการพนักงานส่วนตำบลจังหวัดอุบลราชธานี ในการประชุมครั้งที่ 6/2551 เมื่อวันที่ 27 พฤษภาคม 2551 และที่ทำการองค์การบริหารส่วนตำบลกองโพน ตั้งอยู่ที่บ้านไทรงาม หมู่ที่ 8 อำเภอนาตาล จังหวัดอุบลราชธานี มีพื้นที่รวมประมาณ 47.975 ตารางกิโลเมตรหรือประมาณ 29,375 ไร่ อยู่ห่างจากอำเภอนาตาล ประมาณ 12 กิโลเมตร โดยอยู่ห่างจากจังหวัดอุบลราชธานีประมาณ 110 กิโลเมตร
๑.2 ลักษณะภูมิประเทศ
สภาพทั่วๆ ไปเป็นที่ราบลาดเอียงไปทางทิศเหนือ สภาพดินส่วนใหญ่เป็นดินทราย หรือดินร่วนปนทราย เหมาะแก่การเกษตรและเลี้ยงสัตว์ และในบางพื้นที่เป็นทุ่งหญ้าเลี้ยงสัตว์ หรือพะลานหิน
๑.๓ ลักษณะภูมิอากาศ
ลักษณะอากาศมีลักษณะร้อนชื่น อากาศเปลี่ยนแปลงไปตามฤดู ซึ่งมี ๓ ฤดู ดังนี้
ฤดูร้อน เริ่มตั้งแต่กลางเดือนกุมภาพันธ์ไปจนถึงกลางเดือนพฤษภาคม อากาศร้อนและแห้งแร้ง แต่บางครั้งอาจมีอากาศเย็น บ้างครั้งเกิดพายุฝนฟ้าคะนองและลมกระโชกแรงหรืออาจมีลูกเห็บตกก่อให้เกิดความเสียหายแก่ประชาชนทุกปี เรียกว่า “พายุฤดูร้อน”
ฤดูฝน เริ่มตั้งแต่กลางเดือนพฤษภาคม ฝนตกมากในช่วงเดือน พฤษภาคม – ตุลาคม แต่อาจเกิด“ช่วงฝนทิ้ง” ซึ่งอาจนานประมาณ ๑ – ๒ สัปดาห์หรือบางปีอาจเกิดขึ้นรุนแรงและมีฝนน้อยนานนับเดือน ในเดือนกรกฎาคม
ฤดูหนาว เริ่มตั้งแต่กลางเดือนตุลาคมถึงกลางเดือนกุมภาพันธ์ ในช่วงกลางเดือนตุลาคมนานราว ๑-๒ สัปดาห์ เป็นช่วงเปลี่ยนฤดูจากฤดูฝนเป็นฤดูหนาว อากาศแปรปรวนไม่แน่นอน อาจเริ่มมีอากาศเย็นหรืออาจยังมีฝนฟ้าคะนอง
๑.๔ ลักษณะของดิน
สภาพดินส่วนใหญ่เป็นดินทราย หรือดินร่วนปนทราย ประมาณ 85 % ดินลูกรังประมาณ ๕ % และดินเหนียวประมาณ ๑๐ %
๑.๕ ลักษณะของแหล่งน้ำ
ในพื้นที่เขตองค์การบริหารส่วนตำบลกองโพน แหล่งน้ำจะมีลักษณะเป็น ร่อง ลำห้วยต่าง ๆ ล้อมรอบพื้นที่ ได้แก่ ลำห้วยไร่ ,ลำห้วยแซง , ลำห้วยคันแท และลำห้วยตูบ ซึ่งน้ำส่วนใหญ่จะไหลลงแม่น้ำโขง
๑.6 ลักษณะของไม้และป่าไม้
ชุมชนในเขตองค์การบริหารส่วนตำบลกองโพนมีความหนาแน่น และมีการดำเนินการด้านเกษตรกรรมมาก มีพื้นที่ป่าไม้ร้อยละ 10 ของพื้นที่ พื้นที่ป่าไม้เป็นชนิดป่าไม้เบญจพรรณ เช่น ไม้เต็ง รัง แดง ยาง ฯลฯ
๒. ด้านการเมือง/การปกครอง
2.1 เขตการปกครอง
ในเขตองค์การบริหารส่วนตำบลกองโพน มีทั้งหมดหมู่บ้าน ๑๔ หมู่บ้าน ได้แก่
หมู่ที่ ๑ บ้านกองโพน หมู่ที่ ๒ บ้านนาชุม
หมู่ที่ 3 บ้านโนนสำราญ หมู่ที่ ๔ บ้านค้อ
หมู่ที่ ๕ บ้านไหล่ธาตุ หมู่ที่ ๖ บ้านสมสะอาด
หมู่ที่ ๗ บ้านสองห้อง หมู่ที่ ๘ บ้านไทรงาม
หมู่ที่ ๙ บ้านค้อน้อย หมู่ที่ ๑๐ บ้านโนนสว่าง
หมู่ที่ ๑๑ บ้านหนองไก่ป่า หมู่ที่ ๑๒ บ้านดอนส้มโฮง
หมู่ที่ ๑๓ บ้านนาสะเดา หมู่ที่ ๑๔ บ้านถ้ำตาลาว
อาณาเขตขององค์การบริหารส่วนตำบลกองโพน
เนื้อที่ ๔๗.๙๗๕ ตารางกิโลเมตร หรือ ๒๙,๓๗๕ ไร่
- ทิศเหนือ ติดต่อกับ ตำบลนาแวง ตำบลเขมราฐ อำเภอเขมราฐ
- ทิศใต้ ติดต่อกับ ตำบลนาตาล อำเภอนาตาล
- ทิศตะวันออก ติดต่อกับ ตำบลพะลาน อำเภอนาตาล
- ทิศตะวันตก ติดต่อกับ ตำบลพังเคน อำเภอนาตาลและตำบลขามป้อม อำเภอเขมราฐ
๒.๒ การเลือกตั้ง
องค์การบริหารส่วนตำบลกองโพนมีเขตเลือกตั้งทั้งหมด 14 เขตเลือกตั้ง
ประชาชนในเขตองค์การบริหารส่วนตำบลกองโพน ส่วนใหญ่ร่วมกิจกรรมทางการเมืองเสมอมาและประชาชนในเขต อบต.ยังมีส่วนร่วมในการบริหารงาน การช่วยเหลืองานอบต. เสนอแนะในกิจกรรมของอบต.ในการดำเนินงานต่างๆ เช่น การประชุมประชาคมในการจัดแผนพัฒนาอบต.ประชุมประชาคมแก้ไขปัญหาความยากจน ฯลฯ
จำนวนผู้มีสิทธิเลือกตั้ง (ข้อมูลเมื่อวันที่ 20 ตุลาคม พ.ศ. ๒๕๕6)
- จำนวนผู้มีสิทธิเลือกตั้งผู้บริหารท้องถิ่น 5,360 คน
- จำนวนผู้มีสิทธิเลือกตั้งสมาชิกสภาอบต. 5,349 คน
ประชากร
๓.๑ ข้อมูลเกี่ยวกับจำนวนประชากร
แหล่งอ้างอิงข้อมูล : สำนักงานทะเบียนอำเภอนาตาล ข้อมูล ณ เดือน พฤษภาคม พ.ศ. 2562
๖. ระบบเศรษฐกิจ
6.1 การเกษตรกรรม (พืช สัตว์ ประมง)
ภายในเขตองค์การบริหารส่วนตำบลกองโพน ประชาชนส่วนใหญ่ประกอบอาชีพทำนาข้าวส่วนการทำไร่ ทำสวน มีการปลูกพืชเศรษฐกิจบางส่วนได้แก่ มันสำปะหลัง ยางพาราและพืชไร่อื่น อาชีพเสริม ได้แก่ ทอผ้าฝ้าย, เพาะเห็ด, เย็บผ้าและเครื่องจักรสาน หลังจากทำนาเสร็จไปรับจ้างทำงานทั่วไปที่กรุงเทพฯ และในตัวเมืองจังหวัดต่าง ๆ ที่มีความเจริญ เช่น จังหวัดสมุทรสาคร จังหวัดชลบุรี เป็นต้น อาชีพรอง ได้แก่ ทำสวน, ข้าราชการ และค้าขาย ซึ่งในแต่ละหมู่บ้านได้มีอาสาสมัครจากกระทรวง ทบวง กรมต่าง ๆ ได้แต่งตั้งมาเพื่อช่วยเหลือประชาชนในพื้นที่ ได้แก่ สมาชิกสภาเกษตรกร (กระทรวงเกษตรและสหกรณ์) หมอดิน (กรมพัฒนาที่ดิน) อาสาสมัครปศุสัตว์ (กรมปศุสัตว์) กลุ่มอาชีพ กลุ่มเกษตรกร
6.2 การอุตสาหกรรม
ภายในเขตองค์การบริหารส่วนตำบลกองโพน มีโรงงานอุตสาหกรรมขนาดเล็ก 18 แห่ง เช่น โรงสีข้าวขนาดเล็ก
6.3 การบริการ
- โรงแรม/ที่พัก (รีสอร์ท) จำนวน 2 แห่ง ได้แก่ ธนพรรีสอร์ท สุภาวดีรีสอร์ท
6.4 การท่องเที่ยว
สถานที่ท่องเที่ยวในเขตองค์การบริหารส่วนตำบลกองโพน ยังไม่โดดเด่นมากนัก มีเพียงแหล่งท่องเที่ยวประเภทวัดและโบราณสถานบางแห่ง เช่น วัดถ้ำตาลาว ซึ่งมีโบราณวัตถุ
6.5 การพาณิชย์และกลุ่มอาชีพ
- ร้านค้า 86 แห่ง
- ปั๊มน้ำมันหลอด 2 แห่ง (ตู้น้ำมันหยอดเหรียญ)
- โรงกลั่นสุรา 1 แห่ง
- ตลาดนัดย่อย(หมู่บ้าน) ทุกจันทร์,วันพุธ, พฤหัสบดี และเสาร์ 4 แห่ง ในเขตองค์การบริหารส่วนตำบลกองโพน มีการพาณิชยกรรม ร้านค้า และมีตลาดนัดย่อยเกือบทุกหมู่บ้าน มีชุมชนขนาดใหญ่ประมาณ 2-3 หมู่บ้าน เป็นเส้นทางผ่านระหว่างอำเภอ และได้รับการจัดสรรงบประมาณในการดำเนินการเกี่ยวกับกองทุนต่าง ๆ ได้แก่
- กองทุนหมู่บ้านเงินล้าน
- กองทุน SML
- กองทุน กขคจ.
- กองทุนหมู่บ้านละ 100,000 บาท (โครงการเศรษฐกิจชุมชน)
- กลุ่มออมทรัพย์
- กองทุนพัฒนาบทบาทสตรี
7. ศาสนา ประเพณี วัฒนธรรม
7.๑ การนับถือศาสนา
ศาสนา ในเขตองค์การบริหารส่วนตำบลกองโพน ประชากรส่วนใหญ่นับถือศาสนาพุทธประมาณ 98 % นอกจากนี้มีนับถือศาสนาอื่นๆ 2 % เช่น ศาสนาคริสต์
วัดที่อยู่ในเขตเขตองค์การบริหารส่วนตำบลกองโพน จำนวน 11 แห่ง ได้แก่ วัดสว่างอารมณ์ (ม.1) วัดศรีมงคล(ม.2) วัดโนนสำราญ(ม.3) วัดบ้านค้อ(ม.4) วัดศรีบุญเรือง(ม.5) วัดบ้านสมสะอาด(ม.6) วัดศรีสว่าง(ม.7) วัดบ้านไทรงาม(ม.8) วัดบ้านค้อน้อย(ม.9) สำนักสงฆ์ดอนภูดิน(ม.10) วัดโพธิ์สามยอด(ม.11) สำนักสงฆ์ดอนส้มโฮง(ม.12) สำนักสงฆ์นาสะเดา(ม.13) วัดถ้ำตาลาว(ม.14) - สำนักสงฆ์/ที่พักสงฆ์ จำนวน 8 แห่ง - สถานที่ประกอบกิจกรรมคริสต์ จำนวน 1 แห่ง
7.๒ ประเพณีและงานประจำปี
1. งานปีใหม่ 2. งานสงกรานต์
3. งานเข้าพรรษา 4. งานทอดผ้าป่า
5. งานลอยกระทง 6. งานบุญมหาชาติ
7. งานออกพรรษา 8. งานทอดกฐิน
9. งานบุญคุ้มบ้าน
7.๓ ภูมิปัญญาท้องถิ่น ภาษาถิ่น
ภูมิปัญญาท้องถิ่น ประชาชนในเขตตำบลได้อนุรักษณ์ภูมิปัญญาท้องถิ่น ได้แก่ วิธีการทำเครื่องจักสารใช้สำหรับในครัวเรือน และวิธีการจับปลาธรรมชาติ
ภาษาถิ่น ส่วนมากร้อยละ ๙8 % พูดภาษาอิสาน
8. ทรัพยากรธรรมชาติ
8.1 ทรัพยากรน้ำ
ชุมชนในเขตองค์การบริหารส่วนตำบลกองโพน ได้มีการใช้ทรัพยากรน้ำทั้งบนดินและน้ำใต้ดิน เนื่องจากได้มีลำห้วยต่าง ๆ ล้อมรอบพื้นที่ ได้แก่ ลำห้วยไร่ ,ลำห้วยแซง , ลำห้วยคันแท และลำห้วยตูบ ซึ่งน้ำส่วนใหญ่จะไหลลงแม่น้ำโขง องค์การบริหารส่วนตำบล จึงต้องมีการจัดหาแหล่งน้ำไว้ใช้ โดยการขุดสระน้ำ ขุดลอกลำห้วย ก่อสร้างฝายน้าล้น หรือก่อสร้างอ่างเก็บน้ำไว้ใช้ทางการเกษตรหรือทางอุปโภคบริโภค ได้แก่ หนองโสกเสือ,อ่างเก็บน้ำห้วยสร้างแหย่,ร่องเตย,ร่องหมากแกว,ห้วยหินลาด,ฝายน้ำล้นห้วยแซง ปัจจุบันน้ำจากลำห้วยหรืออ่างเก็บน้ำ ได้นำมาใช้กับระบบประปาหมู่บ้าน ใช้เป็นน้ำดิบผลิตน้ำประปาแจกจ่ายในหมู่บ้านนอกจากนี้ยังมีการใช้น้ำใต้ดิน โดยการขุดบ่อบาดาล บ่อน้ำตื้น และบ่อโยก มาใช้ในการอุปโภคและบริโภค
8.2 ทรัพยากรป่าไม้
ชุมชนในเขตองค์การบริหารส่วนตำบลกองโพนมีความหนาแน่น และมีการดำเนินการด้านเกษตรกรรมมาก มีพื้นที่ป่าไม้ร้อยละ 10 ของพื้นที่ พื้นที่ป่าไม้เป็นชนิดป่าไม้เบญจพรรณ เช่น ไม้เต็ง รัง แดง ยาง ฯลฯ ได้แก่ ป่าสงวนแห่งชาติดงคันไทร และป่าดงทรายพูล ส่วนการอนุรักษ์ป่าไม้ โดยทำการปลูกตามแนวริมถนนสาธารณะ บริเวณอาคารสำนักงานของทางราชการ และที่ของเอกชน นอกจากบริเวณพื้นที่ป่าไม้ แล้วยังมีที่สาธารณประโยชน์ต่าง ๆ ในแต่ละหมู่บ้าน เพื่อนำมาปลูกต้นไม้ใช้ให้เกิดประโยชน์ เช่น ที่ดอนปู่ตา ป่าช้าสาธารณะ ที่พักสงฆ์/สำนักสงฆ์ เป็นต้น
สภาพทั่วไปรอปรับปรุง
สภาพทั่วไป
องค์การบริหารส่วนตำบลกองโพนไม่มีเหตุอาชญากรรมเกิดขึ้น แต่มีเหตุการณ์ลักขโมยทรัพย์สินประชาชน และทำลายทรัพย์สินของราชการ ซึ่งองค์การบริหารส่วนตำบลกองโพนก็ได้ดำเนินการป้องกันการเกิดเหตุดังกล่าว จากการสำรวจข้อมูลพื้นฐานพบว่า ส่วนมากครัวเรือนมีการป้องกันอุบัติภัยอย่างถูกวิธี มีความปลอดภัยในชีวิตและทรัพย์สิน วิธีการแก้ปัญหาขององค์การบริหารส่วนตำบลกองโพนที่สามารถดำเนินการได้ตามอำนาจหน้าที่และงบประมาณที่มีอยู่อย่างจำกัด คือการติดตั้งกล้องวงจรปิดในจุดที่เป็นที่สาธารณะ ติดตั้งสัญญาณไฟกระพริบทางร่วมทางแยก รวมทั้งได้ตั้งจุดตรวจ จุดสกัด จุดบริการ ในช่วงเทศกาลที่มีวันหยุดหลายวันเพื่ออำนวยความสะดวกให้กับประชาชน แต่ปัญหาที่พบเป็นประจำคือการทะเลาะวิวาทของกลุ่มวัยรุ่นโดยเฉพาะในสถานที่จัดงานดนตรี งานมหรสพ เป็นปัญหาที่ชุมชนได้รับผลกระทบเป็นอย่างมาก การแก้ไขปัญหา คือการแจ้งเตือนให้ผู้ปกครองดูแลบุตรหลานของตน ประชาสัมพันธ์ให้ทราบถึงผลกระทบ ผลเสียหาย และโทษที่ได้รับจากการเกิดเหตุทะเลาะวิวาท การขอความร่วมมือไปยังผู้นำ การขอกำลังจาก ตำรวจ ผู้นำ อปพร. เพื่อระงับเหตุไม่ให้เกิดความรุ่นแรง แต่จะไม่ให้เกิดขึ้นเลยยังเป็นปัญหาที่ปัจจุบันไม่สามารถที่จะแก้ไขได้ ทั้งที่มีการร่วมมือกันหลายฝ่าย เป็นเรื่องที่ทางองค์การบริหารส่วนตำบลกองโพนจะต้องหาวิธีที่จะแก้ไขปัญหาให้กับประชาชนต่อไปตามอำนาจหน้าที่ที่สามารถดำเนินการได้
๔.๔ ยาเสพติด
ปัญหายาเสพติดในชุมชนขององค์การบริหารส่วนตำบลกองโพน ยังมีผู้ที่ติดยาเสพติด ทางองค์การบริหารส่วนตำบลกองโพนจึงได้ขอความร่วมมือกับทางผู้นำ ประชาชน หน่วยงานขององค์การบริหารส่วนตำบลกองโพนที่ช่วยสอดส่องดูแล การแก้ไขปัญหาขององค์การบริหารส่วนตำบลกองโพนสามารถทำได้เฉพาะตามอำนาจหน้าที่เท่านั้น เช่น การรณรงค์ การประชาสัมพันธ์ การแจ้งเบาะแส การฝึกอบรมให้ความรู้ ถ้านอกเหนือจากอำนาจหน้าที่ ก็เป็นเรื่องของอำเภอหรือตำรวจแล้วแต่กรณี ทั้งนี้ องค์การบริหารส่วนตำบลกองโพนก็ได้ให้ความร่วมมือมาโดยตลอด
๔.๕ การสังคมสังเคราะห์
องค์การบริหารส่วนตำบลกองโพนได้ดำเนินการด้านสงคมสังเคราะห์ ดังนี้
๑. ดำเนินการจ่ายเบี้ยยังชีพให้กับผู้สูงอายุ ผู้พิการ และผู้ป่วยเอดส์
2. ประสานการทำบัตรผู้พิการ
3. ตั้งโครงการช่วยเหลือผู้ยากจน ยากไร้ รายได้น้อย และผู้ด้อยโอกาสไร้ที่พึ่ง
4. ตั้งโครงการปรับปรุงซ่อมแซมบ้านคนจน
๕. ระบบบริการพื้นฐาน
ในองค์การบริหารส่วนตำบลกองโพนมีระบบบริการพื้นฐาน ดังนี้
๕.1 การคมนาคมขนส่ง
(1) ทางหลวงชนบท หมายเลข 4017 (ถนนลาดยาง) ซึ่งเป็นเส้นทางคมนาคมหลัก เชื่อมโยงระหว่าง อำเภอเขมราฐ กับ ตำบลกองโพน ตำบลพะลานอำเภอนาตาล
(2) ทางหลวงท้องถิ่น
- (ถนนลาดยาง) ซึ่งเป็นเส้นทางคมนาคมเชื่อมระหว่าง บ้านสมสะอาด ตำบลกองโพน ไป บ้านนาสะตัง ต.นาตาล อำเภอนาตาล (อบจ.)
- (ถนนลาดยาง) ซึ่งเป็นเส้นทางคมนาคมเชื่อมระหว่าง สายบ้านไทรงามตำบลกองโพน ไป บ้านนาคอม ต.นาตาล อำเภอนาตาล
- (ถนนลาดยาง) หมายเลข 2112 ซึ่งเป็นเส้นทางคมนาคมเชื่อมระหว่าง สายบ้านไทรงาม ไปบ้านถ้ำตาลาว (แหล่งท่องเที่ยว) ตำบลกองโพน
- (ถนนลาดยาง) ซึ่งเป็นเส้นทางคมนาคมเชื่อมระหว่าง บ้านสมสะอาด ไปบ้านค้อใหญ่ ตำบลกองโพน
ถนนในเขตพื้นที่องค์การบริหารส่วนตำบลกองโพน
ทางหลวงชนบท จำนวน 1 สาย
สภาพถนน คอนกรีต จำนวน - สาย ระยะทาง - กม.
ลาดยาง จำนวน 1 สาย ระยะทาง 8 กม.
ลูกรัง จำนวน - สาย ระยะทาง - กม.
ถนนของท้องถิ่น องค์การบริหารส่วนตำบลกองโพน จำนวน 150 สาย
สภาพถนน คอนกรีต จำนวน 57 สาย ระยะทาง 20.57 กม.
ลาดยาง จำนวน 7 สาย ระยะทาง 20.03 กม.
ลูกรัง จำนวน 86 สาย ระยะทาง 84.64 กม.
๕.๒ การไฟฟ้า
กิจการไฟฟ้าขององค์การบริหารส่วนตำบลกองโพนอยู่ในความควบคุมของการไฟฟ้าส่วนภูมิภาค คือ สำนักงานการไฟฟ้าส่วนภูมิภาคอำเภอเขมราฐ
- ไฟฟ้าสาธารณะ ไฟฟ้าเข้าถึง จำนวน 14 หมู่บ้าน จำนวนประชากรที่ใช้ไฟฟ้า 100 %
- โคมไฟฟ้าส่องสว่าง จำนวน 14 หมู่บ้าน
๕.๓ การประปา
กิจการประปาในเขตองค์การบริหารส่วนตำบลกองโพน ประกอบด้วย
(1) การบริหารจัดการ โดยองค์การบริหารส่วนตำบลกองโพน จำนวน 8 แห่ง
- ประปาหมู่บ้านระบบผิวดิน 1 แห่ง
- ประปาหมู่บ้านระบบใต้ดิน (บ่อบาดาล) 7 แห่ง
(2) การบริหารจัดการ โดยหมู่บ้าน จำนวน 17 แห่ง
- ประปาหมู่บ้านระบบผิวดิน 2 แห่ง
- ประปาหมู่บ้านระบบใต้ดิน (บ่อบาดาล) 15 แห่ง
๕.๔ โทรศัพท์
- เสาโทรศัพท์ 3 แห่ง ได้แก่ AIS , DTAC ,TRUE
- โทรศัพท์ตามบ้าน/สถานที่ราชการ
- ศูนย์ ICT จำนวน 1 แห่ง
๔.๒ สาธารณสุขรอปรับปรุง